สิ่งแรกที่ควรตัดสินใจ คือการเลือกสาขาวิชาที่ต้องการเรียนจริงๆ จากนั้นจึงเลือกมหาวิทยาลัยที่มีครูผู้สอนเหมาะสมกับคุณมากที่สุด
ทั้งนี้เป็นไปไม่ได้ที่จะสมัครเข้าศึกษาต่อทั้งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในรอบเดียวกัน ดังนั้นควรเลือกเพียงหนึ่งแห่ง หรือเลือกที่อื่น บางหลักสูตรเปิดสอนแค่ที่มหาวิทยาลัยเดียว แต่ไม่เปิดสอนที่อื่น
ระบบกวดวิชา เป็นข้อได้เปรียบอย่างยิ่งในมหาวิทยาลัยออกซ์บริดจ์ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเหมาะสมกับนักเรียน นักศึกษาผู้มีศักยภาพทุกคน นักศึกษาที่มหาวิทยาออกซ์ฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้รับผลประโยชน์อย่างสูงจากการสอนแบบส่วนตัวจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดเรียกกิจกรรมนี้ว่า “tutorials” ในขณะที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เรียกว่า “supervisions” หลักสูตรของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เป็นไปในทางวิชาการแบบต้นตำรับ ซึ่งมีการประเมินผลที่เป็นทางการและมักอิงพื้นฐานจากการสอบเสมอ
เงื่อนไขของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ของผู้สมัครในระดับปริญญาตรีจะต้องมีผลการเรียน A-Level อยู่ระหว่าง A*A*A และ AAA (ขึ้นอยู่กับหลักสูตรที่สมัคร) หรือคะแนน 38-40 ในหลักสูตร IB และอาจจะมีวิชาเฉพาะที่ต้องให้ลงเรียน สำหรับหลักสูตรเฉพาะต่างๆ เช่น ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ หรือการแพทย์ เป็นต้น หรือที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ที่นอกจากผลการเรียนระดับยอดเยี่ยมแล้ว ผู้สมัครจะต้องทำแบบสอบถาม Supplementary Application Questionnaire (SAQ) ทางออนไลน์ให้เสร็จสมบูรณ์
ทั้งนี้ ผู้สมัครอาจต้องสอบข้อเขียนในช่วงเดือนพฤศจิกายนซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของการสมัคร และทั้งสองมหาวิทยาลัยจะต้องให้ผู้สมัครส่งตัวอย่างงานเขียนมาด้วย ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด กำหนดการสิ้นสุดการรับผลงาน คือวันที่ 10 พฤศจิกายน ในขณะที่ผู้สมัครเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์จะได้รับการแจ้งจากทางวิทยาลัยที่สมัครอีกทีว่าเมื่อไหร่ที่ควรจะต้องส่งชิ้นงาน นอกจากนี้ นักเรียน นักศึกษาที่สมัครเข้าศึกษาต่อในคณะแพทย์ศาสตร์ทุกคน (ไม่ว่ามหาวิทยาลัยใดก็ตาม) จะต้องลงทะเบียนสอบ BMAT เช่นเดียวกับผู้สมัครที่ต้องการสมัครเข้าศึกษาต่อระดับสูงกว่าปริญญาตรีด้วย
ทั้งนี้กำหนดการยื่นสมัครผ่านระบบ UCAS ของ Oxbridge คือภายในวันที่ 15 ตุลาคม ของทุกปี
สนใจค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมใช่หรือไม่? เชิญรับคำ ปรึกษาฟรี ได้แล้ววันนี้