สำหรับหลายคน การเขียน Essay คือความทุกข์ทรมานใจ ด้วยไม่รู้ว่าจะหาข้อมูลอย่างไร หรือถึงจะรู้ว่าอยากจะเขียนเกี่ยวกับอะไร แต่ไม่รู้วิธีจะถ่ายทอดมันในรูปแบบที่ถูกต้อง น้อง ๆ คนไหน หากอ่านแล้วรู้สึกคุ้นๆ คลับคล้ายคลับคลาว่าจะเป็นตัวเอง นี่คือ tips ที่จะช่วยให้การเขียน Essay ให้น่าปวดหัวน้อยลงค่ะ วันนี้พี่ ๆ ทีม SI-UK รวบรวมวิธีเขียน Essay ง่าย ๆ ในข้อสอบ Ielts Writing Part มาฝากน้อง ๆ มาดูกันเลย!
1. วางโครงเรื่องไว้ในใจ
ในขั้นตอนของการวางแผน ลองนึกโครงเรื่องของ essay ที่เราจะเขียนคร่าวๆ จากนั้นหาข้อมูลและอ่านแบบเร็วๆ จากนั้นจัดเรียงโครงเรื่องในใจอีกครั้ง (หรือจะใช้วิธีเขียนโครงคร่าวๆ แบบ mind mapping ช่วยก็ได้เหมือนกัน) วิธีนี้จะช่วยให้เราเห็น main point หรือแกนหลักของเรื่อง รู้ว่าจะเขียนอะไร ลำดับเนื้อหาของสิ่งที่จะเขียนได้ ว่าอะไรคือส่วนเปิดเรื่อง ส่วนของเนื้อหา และส่วนปิด เมื่อเห็นทุกอย่างในใจอย่างเป็นระบบแล้ว จึงค่อยลงมือเขียน
2. แต่ละประโยคต้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
นอกจากหัวข้อ (topics) และส่วนปิดท้าย (closing sentences) จะต้องมีความเกี่ยวเนื่องกันแล้ว เนื้อหาทั้งหมดของ essay ในแต่ละบรรทัด จะต้องมีส่วนเชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกันทั้งหมด ประโยคแรกของแต่ละ paragraph ควรอ้างอิง paragraph สุดท้ายของส่วนก่อนหน้า วิธีนี้จะทำให้ essay ของน้องๆ อ่านแล้วลื่นไหล มี direction ไม่เยิ่นเย้อ ไม่นอกเรื่องหรือออกทะเล
3. รู้จุดยืนของอาจารย์ต่อการใช้ personal pronouns ในงานเขียน
โดยทั่วไปในการเขียน essay มักจะไม่อนุญาตให้ใช้ personal pronouns หรือสรรพนามส่วนบุคคล (I, You, We และอื่นๆ) อย่างไรก็ดี อาจารย์บางท่านอาจจะอะลุ่มอล่วย แต่ทางที่ดีน้องๆ ควรสอบถามท่านให้แน่ใจว่าใช้ได้ไหม แต่ถ้าให้พี่ๆ แนะนำ คือควรหลีกเลี่ยงครับ เพราะมันจะทำให้ essay ของเราไม่หนักแน่นและไม่เป็นมืออาชีพ
4. Basic Grammar
ระวังแกรมม่าและคำผิดให้ดี เพราะต่อให้เนื้อหา Essay เลิศเลอแค่ไหน แต่ถ้ามีจุดตำหนิเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ให้อาจารย์ (ซึ่งเป็นคนอ่านและให้คะแนน) รู้สึกกวนใจละก็ อาจถูกหักคะแนนไปอย่างน่าเสียดาย หากน้องๆ ไม่แน่ใจเรื่องแกรมม่าหรือคำศัพท์ อย่างน้อยๆ ก็ลองกูเกิลหาคำตอบดูสักนิด อย่าเดามั่วเด็ดขาด
5. หลีกเลี่ยงการใช้ Passive voice
การใช้ passive voice หรือประโยคถูกกระทำในงานเขียน อาจทำให้คนอ่านรู้สึกสับสนได้ (passive voice คือคำนามที่ถูกกระทำโดยคำกริยา) วิธีหลีกเลี่ยงคือแทนที่ด้วยประโยค verb “to be” (is, are, was, were) หลายๆ คนใช้วิธีแก้ไข passive voice โดยเสิร์ชประโยคเหล่านี้ใน search bar ของ Microsoft Word เพื่อไฮไลท์ และดูว่าจะสามารถเปลี่ยนประโยคเหล่านี้ได้ไหม ยกตัวอย่าง:
Passive voice: Romeo and Juliet was written by Shakespeare.
Active voice: Shakespeare wrote Romeo and Juliet.
6. ระมัดระวังเรื่องการใช้ภาษา
อย่างที่ทราบกันว่า คนเรามักเขียนอะไรๆ คล้ายๆ กับภาษาที่พูด ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้คำไม่เหมาะสมหรือคำหยาบ หรือกระทั่ง Filler words ต่างๆ คำที่เป็น Filler words หรือคำเติม ก็อย่างเช่นคำว่า “just,” “very,” “really,” “even,” และ “that.” เป็นต้น ซึ่งหากใช้บ่อยๆ ก็อาจทำให้งานเขียนของเราดูไม่เป็นมืออาชีพเช่นกัน
7. หลีกเลี่ยง Adverbs (คำวิเศษณ์)
คำวิเศษณ์ หรือคำที่ใช้ขยายคำกริยาต่างๆ อาจจะมีประโยชน์ในงานเขียนบางชนิด แต่สำหรับ essay คำวิเศษณ์ก็เช่นเดียวกับ filler word คือหากใช้มากเกินไป อาจารย์ส่วนใหญ่มักไม่ปลื้ม เพราะมันดูเป็นภาษาพูด ดูแล้วไม่เป็นทางการ มีหลายกรณีที่น้องๆ สามารถใช้การอธิบายด้วยประโยคแทนที่การใช้คำวิเศษณ์ ซึ่งหากหลีกเลี่ยงได้จะทำให้เนื้อหาของ essay ของน้องๆ ดูหนักแน่น และไม่มีจุดอ่อนให้อาจารย์ต้องคอยมาหักคะแนนครับ
8. ดูเรื่องความยาว-สั้น ของประโยคให้ดี
บางครั้งที่เราไม่รู้จะเชื่อมประโยคแต่ละประโยคเข้าด้วยกันยังไง เราก็อาจจะเขียนเป็นอะไรที่สั้นๆ ไว้ก่อน แล้วค่อยมาหาทางเชื่อมกันทีหลัง แต่ไม่ว่าประโยคที่เราเขียนจะสั้นหรือยาวเกินไป essay ของเราจะดูดีมีพลังมากขึ้น หากแต่ละประโยคถูกตกแต่งให้มีความยาวเท่าๆ กัน
9. ใช้เทคนิคในการเพิ่มเนื้อหาให้ยาวขึ้น
อีกหนึ่งปัญหา คือการที่เขียนไปเขียนมาแล้วไม่รู้จะเขียนอะไรต่อ เนื้อหาที่คิดไว้ก็ถูกเขียนไปจนหมดแล้ว แต่ความยาวก็ยังไม่ได้ตามที่กำหนดไว้สักที ลองใช้ทริกต่อไปนี้ครับ อย่างแรกลองมองหา main ideas ของแต่ละย่อหน้า แล้วดูว่ามีอะไรบ้างที่สามารถแบ่งแยกหรือซอยลงไปได้อีก เพื่อให้เราสามารถเพิ่มเติมเนื้อหาเข้าไปได้ หรือลองอ่านประโยคเหล่านั้นดังๆ แล้วหากเราเกิดคำถามขึ้นมา เช่น “เพราะอะไร” ในสิ่งที่เราได้อ่าน ตรงคำว่าเพราะอะไรนี่แหละ ที่เราสามารถเติมเนื้อหาเชิงอธิบายเข้าไปได้อีกว่า “เพราะ…” โดยใส่การวิเคราะห์หรือเนื้อหาที่ลึกขึ้นลงใน essay เพิ่มเติม แต่หากดูจนถี่ถ้วนแล้ว ไม่มีส่วนไหนที่เราจะเติมหรือเพิ่มอะไรเข้าไปได้อีกแล้ว คงถึงเวลาที่น้องๆ จะต้องรีเสิร์ชหาข้อมูลใหม่ๆ มาเติมลงไปแล้วล่ะครับ
10. การอ่านทวน
การอ่านทวน เป็นเทคนิคที่ดีที่สุดในการตรวจหาความผิดพลาด น้องๆ สามารถตรวจจับคำที่สะกดผิดที่เราอาจมองไม่เห็นหรือหลงหูหลงตา แต่เมื่ออ่านออกเสียงแล้วเราจะพบคำหรือประโยคที่มันแปร่งๆ ฟังดูไม่โอเคเหล่านั้นง่ายขึ้น นอกจากนี้ การอ่านออกเสียงดังๆ ยังช่วยให้การเขียนของเราออกมาเป็นธรรมชาติ เทคนิคนี้ยังสามารถนำมาใช้ตรวจจับความยาวของประโยคได้ด้วย ซึ่งจะทำให้เราทราบได้ง่ายขึ้น ว่าประโยคไหนสั้นเกินไปต้องเพิ่ม หรือประโยคไหนยาวเกินไป ต้องตัดให้สั้นลง
SI-UK University Fair 2025 - งานเรียนต่ออังกฤษและสหราชอาณาจักรครั้งยิ่งใหญ่
สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่สนใจ เรียนต่ออังกฤษ และ UK ไม่ว่าจะเป็นระดับ ปริญญาตรี หรือ ปริญญาโท และ ต้องการเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติม เช่น หลักสูตร คุณสมบัติ และขั้นตอนการสมัครเรียนที่ มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศ UK สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานเรียนต่ออังกฤษ และ UK ได้ที่งาน SI-UK University Fair 2025 เพื่อพูดคุย ปรึกษาตรงกับตัวแทนมหาวิทยาลัยชั้นนำ UK ฟรี!
กิจกรรมจะจัดขึ้นใน วันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2568 เวลา 15:00 - 19:00 น. ที่ Grande Centre Point Terminal 21 (ฺBTS อโศก / MRT สุขุมวิท) เพียงคลิกลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมด้านล่าง หลังจากนั้น น้อง ๆ จะได้รับอีเมลยืนยันการเข้าร่วมงาน