เรื่องของ Bank Statement เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่พี่ ๆ ทีม SI-UK ได้รับการถามไถ่เข้ามาเป็นจำนวนมาก วันนี้เราจึงขอถือโอกาสนำข้อสงสัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Bank Statement มาบอกเล่าเพื่อความกระจ่าง และเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับน้อง ๆ ที่วางแผนเตรียมตัวไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ไปดูกันเลยค่ะ
Bank Statement คืออะไร
Bank Statement หรือรายงานการเคลื่อนไหวทางบัญชี ก็คือรายการต่างๆ เช่น รายการเงินเข้า-ออก ที่ปรากฏในสมุดบัญชีธนาคารของเรานั่นเองครับ กรณีที่น้องๆ มีการอัพเดทสมุดบัญชีเป็นประจำ ก็สามารถใช้เป็น Statement ได้เลย แต่ถ้าไม่ได้อัพเดทเป็นประจำ ก็สามารถขอหนังสือรับรองใช้เป็น Bank Statement จากธนาคารเจ้าของบัญชีได้ทั้งช่องทางออนไลน์หรือติดต่อกับสาขาของธนาคารโดยตรง
Bank Statement สำคัญต่อการยื่นวีซ่า และการไปเรียนต่อต่างประเทศอย่างไร?
Bank Statement จะใช้เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาในการยื่นขอวีซ่าเกือบทุกประเภทและทุกประเทศเลยครับ ทั้งนี้ สถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยบางแห่งก็อาจจะขอดู Bank Statement ของเราด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นการแสดงความพร้อมและความมั่นคงทางการเงินของเรา ว่ามีเพียงพอต่อการไปใช้ชีวิต เที่ยว กินอยู่ ศึกษา ฯลฯ ในประเทศนั้น ๆ ได้อย่างแน่นอนไหม อย่างการขอวีซ่าเพื่อไปเรียนต่อในสหราชอาณาจักร ในปัจจุบัน ก็จะใช้ระบบให้คะแนนที่เรียกว่า Point Based System คือ 30 คะแนน มาจากจดหมายตอบรับให้เข้าเรียนของสถาบันการศึกษาที่ส่งมา และอีก 10 คะแนน ก็มาจากความพร้อมทางด้านการเงินของเรา Bank Statement จึงมีความสำคัญต่อการยื่นวีซ่าและการไปเรียนต่อต่างประเทศมาก ๆ
Bank Statement ประกอบด้วยอะไรบ้าง?
โดยทั่วไป Bank Statement ที่เป็นหนังสือรับรองจากธนาคาร ต้องขอย้อนหลังเป็นระยะเวลา 1 เดือน เพื่อให้ทางสถานทูต ดูความเคลื่อนไหวของบัญชี และวันสุดท้ายใน Statement จะต้องไม่เกิน 1 เดือนของวันที่ยื่นขอวีซ่า ที่สำคัญ คือต้องเป็นฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วด้วยนะ
ในกรณีที่ใช้เป็นสมุดบัญชีธนาคาร ต้องนำไปถ่ายสำเนาเอกสารให้ครบทุกหน้า แปลหน้าชื่อบัญชีหน้าแรก และขอให้ทางธนาคารประทับตราและเซนต์กำกับให้ด้วย แล้วแนบไปกับบัญชีตัวจริง
ในการขอวีซ่าเพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศ จำนวนเงินใน Bank Statement ที่ใช้ก็ขึ้นอยู่กับประเทศและระยะเวลาที่เราต้องการจะไปครับ (ในส่วนนี้สามารถสอบถาม เจ้าหน้าที่ของเราได้โดยตรงครับ จะได้คำนวณได้ถูกต้อง) โดยเงินของเราต้องฝากแช่อยู่ในบัญชีไม่ต่ำกว่า 28 วัน และต้องคอยดูไม่ให้ยอดเงินต่ำกว่าที่กำหนดไว้ทุก ๆ 3 วัน ตลอดทั้งเดือน
ถ้าไม่มี Bank Statement จะต้องทำยังไง
ปกติแล้ว ควรใช้ Bank Statement ที่เป็นชื่อของเราเอง จะเป็นบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีฝากประจำก็ได้ แต่ในกรณีที่ไม่มี Bank Statement เป็นของตัวเอง สามารถใช้ของผู้ปกครอง พ่อ แม่ พี่ น้อง คู่สมรส พ่อ-แม่บุญธรรม โดยมีเอกสารทางกฏหมายรับรองประกอบด้วย ทั้งนี้ไม่สามารถให้เพื่อนหรือญาติมาเป็นสปอนเซอร์ให้ได้ครับ ต้องเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์กันทางกฏหมายเท่านั้น
น้อง ๆ ที่ต้องการเดินบัญชีเพื่อสร้างประวัติทางการเงินที่ดีก่อนไปเรียน ก็ควรวางแผนไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ และสำหรับใครที่จะมีเงินก้อนเข้ามาในบัญชี แต่ไม่รู้ว่าจะเดินบัญชียังไง พี่ๆ แนะนำให้บอกกับทางสถานทูตไปตรงๆ เลยว่า เงินก้อนที่ได้นี้ มีที่มาจากแหล่งใด เช่น มาจากการขายที่ดิน มาจากโบนัส เงินมรดก ฯลฯ การพิจารณาของทางสถานฑูตในเรื่องของ Bank Statement ก็เพื่อความมั่นใจเท่านั้นครับ ว่าเราไปอยู่ไปเรียนที่ประเทศเขาแล้วมีเงินพอใช้จ่ายหรือไปเรียนจริง ๆ ไม่ได้คิดจะไปลักลอบทำงานหรืออยู่ต่อหลังหมดวีซ่า
อีกทางหนึ่งคือใช้ Bank Guarantee (แบงค์การันตี) หรือจดหมายรับรองฐานะทางการเงินจากธนาคาร ซึ่งเราต้องไปขอจากธนาคารเป็นกรณีพิเศษ โดยต้องโชว์ยอดเงินเป็นเงินสกุลต่างประเทศที่เราต้องการขอวีซ่า ตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ขอ (ไม่สามารถใช้ยอดโดยประมาณได้) และแนะนำให้ขอทางธนาคารเติมประโยคกำกับว่า มีเงินอยู่ในบัญชีไม่ต่ำกว่า 28 วันลงไปด้วย ซึ่งโดยปกติธนาคารจะจัดการให้อยู่แล้วไม่มีปัญหา
งานเรียนต่ออังกฤษและสหราชอาณาจักรครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในปีนี้! SI-UK University Fair 2024 ประจำเดือนตุลาคม
สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่สนใจ เรียนต่ออังกฤษ และ UK ไม่ว่าจะเป็นระดับ ปริญญาตรี หรือ ปริญญาโท และ ต้องการเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติม เช่น หลักสูตร คุณสมบัติ และขั้นตอนการสมัครเรียนที่ มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศ UK สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานเรียนต่ออังกฤษ และ UK ได้ที่งาน SI-UK University Fair 2024 เพื่อพูดคุย ปรึกษาตรงกับตัวแทนมหาวิทยาลัยชั้นนำ UK ฟรี!
กิจกรรมจะจัดขึ้นใน วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2567 เวลา 15:00 - 19:00 น. ที่ The St. Regis Bangkok (BTS Ratchadamri) เพียงคลิกลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมด้านล่าง หลังจากนั้น น้อง ๆ จะได้รับอีเมลยืนยันการเข้าร่วมงาน
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
เขียน Personal Statement ยังไงให้โปรไฟล์ของคุณดูโดดเด่น