น้อง ๆ บางคนอาจจะยังไม่รู้จัก Peer Review ว่ามันคืออะไร สำคัญแค่ไหน ต้องใช้ตอนไหน วันนี้ทาง SI-UK จะมาอธิบายให้ฟัง!
Peer Review อะไร ยังไง?
Peer Review คือ การตรวจทานผลงานที่ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญอีกคนหนึ่ง (ที่ไม่ใช่ผู้ผลิตงานชิ้นนั้น) เทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ และผู้ที่จะทำหน้าที่ตรวจผลงานของผู้อื่นได้ จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญเหมือนกับผู้ผลิตผลงานชิ้นนั้น หรือเชี่ยวชาญกว่า โดยส่วนมากมักจะให้เพื่อนร่วมงานในระดับเดียวกันเป็นผู้ตรวจทาน
Peer Review สำคัญไหม หากจะไปศึกษาต่อปริญญาที่ต่างประเทศ ?
ก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญนะคะ การไปศึกษาต่อปริญญา มักจะต้องมีการทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) ก็จำเป็นที่จะต้องมีการ Peer Review SI-UK ขอยกตัวอย่าง ในผลงานทางวิชาการที่ทั่วโลกยอมรับ มักจะเป็นผลงานตีพิมพ์ที่ผ่านการ Peer Review และต้องได้รับการยอมรับจากแวดวงวิชาการด้วยกัน ในมหาวิทยาลัยต่างประเทศในตะวันตกและสหรัฐฯ เขามีข้อกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนมีผลงานนำเสนอที่ผ่านการ Peer Review จากผู้เชี่ยวชาญ เป็นตัวกำหนดมาตรฐานการทำงานและการมีโอกาสได้ตำแหน่งทางวิชาการสูงขึ้น นักศึกษาเองก็จะเลือกเรียน หรือเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีผลงานแบบนี้ เรียกได้ว่า Peer review นี้จำเป็นต่องานของทั้งอาจารย์และนักศึกษาเลยทีเดียว
เป้าหมายในการตรวจสอบ Peer Review
- สามารถตรวจพบจุดผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว
- เพื่อตรวจสอบว่าชิ้นงานที่ทำเป็นไปตามคุณสมบัติ (Specification) ที่กำหนดหรือไม่
- เพื่อระบุว่ามีรายการใดหรือส่วนใดที่เบี่ยงเบน (Deviation) จากมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่
- เพื่อให้คำแนะนำในการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
ทำไมต้องมีการ Peer Review ?
- ต้องการได้ข้อมูลสะท้องเชิงวิชาการ เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนหรือการปฏิบัติงาน
- เป็นกระบวนการที่ทำให้มองเห็นปัญหาและแนวทางแก้ไข โดยอิงประสบการณ์ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
- เพื่อให้เห็นคุณค่าของการได้ข้อมูลสะท้อนที่ช่วยในการปรับปรุงพัฒนา จึงไม่ควรเป็นกระบวนการจากการถูกบังคับหรือสั่งการให้ต้องทำ
ใครบ้างที่สามารถทำ Peer Review ให้เราได้ ?
- หัวหน้างานในองค์กร
- เพื่อนร่วมงานในระดับเดียวกัน
- อาจารย์ที่ปรึกษา
- ผู้ที่มีความเป็นกลาง ไม่มีอคติ ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผลงานที่เข้าไป Peer Review
สิ่งสำคัญในการทำ Peer Review มีอะไรบ้าง ?
- การสนทนากับผู้เกี่ยวข้องในหลักสูตรทุกคน (ประมาณ 5-10 คน)
- การเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานเทียบกับเป้าหมายของหลักสูตรหรือผลงานนั้น
- การตรวจสอบร่องรอยข้อมูลหลักฐานเพิ่มเติมจากที่หลักสูตรรายงาน
- การสังเกตการปฏิบัติงาน เช่น การเรียนการสอน
- การวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการประเมิน
- การสนทนาหารือร่วมกันกับผู้บริหารเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการหาแนวทางการปรับปรุงพัฒนา
Peer Review ที่ดีต้องใช้ระยะเวลา เพื่อพิจารณา ตรวจทาน และตัดสินผลงานดังกล่าว ผลจะเป็นได้สามแบบ คือ ให้ผ่าน (acceptable) ให้ผ่านแต่ต้องปรับแก้ (acceptable with revisions) และ ไม่ผ่าน (rejected) การสื่อสารผลการประเมินสามารถทำได้แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ แต่ต้องมีการตกลงกับผู้ผลิตผลงานนั้น เกี่ยวกับเป้าหมายของการรายงานผล ซึ่งต้องเข้าใจตรงกัน แม้จะได้ข้อมูลป้อนกลับมา แต่ผู้ผลิตผลงานก็มีอิสระที่จะตัดสินใจว่าจะทำตามข้อเสนอแนะหรือข้อมูลป้อนกลับของผู้ทำการ Peer Review หรือไม่ แต่ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ถือเป็นสิ่งที่ดี การใช้วิธีการ Peer Review แบบนี้จึงเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้ผู้ผลิตผลงาน ได้ปรับปรุงและพัฒนาขึ้น
Apply to Study in the UK
หากสนใจหรือต้องการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำในอังกฤษ หรือในสหราชอาณาจักร น้อง ๆ สามารถ ดูบริการของ SI-UK ได้ที่นี่ หรือจะลงทะเบียนกับ SI-UK ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาต่อใน UK เพื่อขอรับข้อมูล คำแนะนำต่าง ๆ ได้ฟรี! ตั้งแต่วันนี้
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
MBA, MLS, MPA, LLM, MA, และ MEng แตกต่างกันอย่างไร?
10 มหาวิทยาลัยในอังกฤษ ที่ค่าเทอมไม่แพงอย่างที่คิด!