สำหรับใครหลายคนที่มีความฝัน หรือความต้องการเรียนต่อด้าน Art & Design ใน UKก็คงหนักใจไม่น้อยต่อการเลือกทั้งหลักสูตร และการเลือกมหาวิทยาลัยสาย Art ใน UK ให้ตรงตามความต้องการของคุณ และอีกเรื่องหนึ่งที่คุณจะต้องเตรียมตัวในพร้อมก็คือการจัดทำ Portfolio นั่นเอง และวันนี้ SI-UK มีเทคนิคดี ๆ มาฝากกันเพื่อคุณจะได้เอามาพัฒนา และปรับปรุง Portfolio ของคุณให้ดูดี และสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นค่ะ
1. การหาข้อมูล ก่อนอื่นเลยคุณจะต้องทำการหาข้อมูลกันก่อนว่าสาขาที่เราอยากจะเรียนเขามีการเรียนการสอนด้านไหนบ้าง จากนั้นคุณก็ทำการปรับ Portfolio ของคุณให้ไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หากเราอยากเรียนสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ หรือ Architecture งานที่จะอยู่ใน Portfolio ของเราก็ควรเป็นรูปในแนวตึกรามบ้านช่อง หรือ Landscape นั่นเอง อ้อ! และอย่าลืมศึกษาให้ดีว่าสาขาและสถาบันที่เราจะเข้าเรียนต่อนั้นต้องการดูภาพแนวไหนบ้าง และต้องการผลงานกี่ชิ้น
2. การอธิบาย โดยคุณควรจะอธิบายทั้งที่มาที่ไป ไอเดีย แนวคิด เทคนิคที่ใช้ และขั้นตอนการพัฒนางาน เพื่อให้คนดูเข้าใจงานของเรามากขึ้นค่ะ ซึ่งอาจจะไม่ต้องเขียนยาวมากก็ได้ โดยเขียนประมาณ 100 คำ ให้ผู้อ่านได้พอเข้าใจถึงวิธีการทำงานของคุณนั่นเอง ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้คนที่ดูผลงานคนจะไม่ได้ดูแค่ที่ฝีมือ หรือความสวยงามของภาพเท่านั้น แต่พวกเขาจะมองลึกมาถึงไอเดีย และวิธีการคิดงานของคุณอีกด้วย
3. ภาพสเก็ต โดยภาพสเก็ตถือเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนนึงใน Portfolio เลยก็ว่าได้ เพราะเป็นส่วนที่ทำให้เห็นถึงพัฒนาการ และความน่าสนใจของตัวเราคุณเอง รวมถึงยังสามารถเป็นตัวช่วยแสดงถึงความตั้งใจและความมุ่งมั่นของเราอีกด้วยค่ะ
4. งาน 3D หากงานคุณต้องการที่จะนำเสนอเป็นแบบ 3D ก็ควรจะถ่ายภาพงานนั้นในแสงที่เหมาะสมกับตัวงานที่สุด เพื่อจะช่วยให้ผลงานของคุณดูสวยงามเสมือนจริง เนื่องจากคนดูไม่สามารถสัมผัสงานตัวจริงที่เป็น 3D ได้อยู่แล้ว ดังนั้นให้แสงเป็นตัวช่วยให้ผลงานของคุณดูดีขึ้นดีกว่าค่ะ
5. รูปแบบของ Portfolio ควรมีความเรียบง่าย แต่น่าสนใจดึงดูด มีจุดเด่น และที่สำคัญดูเข้าใจง่ายนั่นเอง ซึ่งจริง ๆ แล้วข้อนี้สามารถใช้ได้กับการทำทั้ง Portfolio การทำ Resume และการเอกสารที่ใช้ในการนำเสนอเกือบทุกชนิดเลยก็ว่าได้ เพราะความเรียบง่าย เข้าใจง่าย จะดึงดูดให้คนดูรู้สึกสบายใจที่จะดูต่อนั่นเองค่ะ
6. ความโดดเด่น โดย Portfolio คุณควรมีความแปลกใหม่ในการนำเสนอผลงาน ดูเป็นเอกลักษณ์ และไม่ซ้ำจำเจกับผู้อื่น เพราะอย่าลืมว่ากรรมการนั้นจะได้ดู Portfolio ในทุก ๆ ปี และถ้าไม่มีความแปลกใหม่ก็ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นนั่นเอง
7. น่าจดจำ ซึ่งนอกจากความโดดเด่นแล้ว Portfolio ควรจะมีความเป็นตัวของตัวคุณสูง คือสามารถบ่งบอกได้ว่า Portfolio นี้คือของคุณ เพราะมันจะทำให้กรรมการจำคุณได้พร้อมกับผลงานของคุณค่ะ
8. เข้าใจง่าย ง่าย ๆ เลยก็คือเนื้อหา และการจัดวางไม่ควรมีความซับซ้อนเพื่อง่ายต่อการตีความ มีความชัดเจน เช่น กรรมการเข้าใจคุณในทันทีว่าเป็นพอร์ทเกี่ยวกับสถาปัตย์ หรือ แฟชั่น ฯลฯ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลานานพินิจพิเคราะห์
และนี้ก็คือเทคนิคทั้งหมดในการจัดทำ Portfolio เพื่อการไปเรียนต่ออังกฤษด้าน Art & Design ซึ่งหากคุณนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้เรารับรองเลยว่า Portfolio ของคุณต้องมีความโดดเด่นไม่แพ้ใครอย่างแน่นอนค่ะ!
สนใจไปเรียนต่อที่ UK
หากน้อง ๆ สนใจหรือต้องการไปเรียนต่อสาขา Art & Design ที่มหาวิทยาลัย UK คุณสามารถลงทะเบียนกับ SI-UK ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาต่อ UK เพื่อขอรับข้อมูล และคำแนะนำต่าง ๆ ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น!
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4 เทคนิคช่วยเขียน SOP (Statement of purpose) ให้เป็นเรื่องง่าย